เส้นมทางเยี่ยมชุมชนวัฒนธรรม แหล่งโบราณคดีล้ำค่าประวัติศาสตร์ ๓,๐๐๐๐ ปี ที่นี่…ชีทวน

เส้นทางเยี่ยมชุมชนวัฒนธรรม แหล่งโบราณคดีล้ำค่าประวัติศาสตร์ ๓,๐๐๐๐ ปี ที่นี่…ชีทวน

วัดธาตุสวนตาล

พระธาตุสวนตาล ณ วัดธาตุสวนตาล เป็นสถูปหรือเจดีย์ประธานของวัด องค์เดิมก่อด้วยอิฐฉาบด้วยพระทาย มีรูปทรงเลียนแบบพระธาตุพนมสันนิษฐานว่า สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ พังทลายลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา ช่วงเวลา ๑๙.๓๐ น. ต่อมาได้มีการสร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบองค์เดิม

พระธรรมเทโว ณ วัดธาตุสวนตาล

เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๒ ซ.ม. สูง ๗๖ ซ.ม. ประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย ศิลปะแบบลาว จารึกเป็นภาษาแบบลาว จารึกเป็นภาษาพื้นเมือง ซึ่งพระธรรมเทโว หรือชาวบ้านเรียกว่า พระเทโว ซึ่งเป็นพระคู่บ้าน คู่เมืององค์หนึ่ง ซึ่งจะนำออกมาเพียงปีละ ๑ ครั้ง เมื่อฝนฟ้าไม่ตกตองตามฤดูกาล ชาวบ้านก็จะนิมนต์ลงไปแห่รอบๆหมู่บ้าน เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล และเพื่อให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ จนเกิดประเพณีแห่พระธรรมเทโว ขึ้นทุกปี จึงได้ฉายานามว่า พระพุทธรูปแห่งความอุดมสมบูรณ์

เรือขุดโบราณ ณ วัดธาตุสวนตาล

เป็นเรือขุดขนาดใหญ่ทำจากไม้ตะเคียนหินต้นเดียว ยาว ๒๔ เมตร กว้าง ๒.๗๐ เมตร อายุ ๓๐๐ ปี พบที่ลำน้ำชี เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖ สันนิษฐานว่า เรือลำดังกล่าวจมลงบริเวณท่าน้ำ โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเรือลำนี้เป็นเรือสำหรับขนส่งสินค้าของผู้คนในอดีต คาดว่าสามารถบรรทุกสินค้าได้ถึง ๓ตัน หรือ ๓,๐๐๐ กิโลกรัมต่อเที่ยว

สัตตภัณฑ์เชิงเทียน ณ วัดธาตุสวนตาล เป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทอง บางตอนประดับด้วยกระจกสี มีรางเหล็กสำหรับปักเทียนอยู่บริเวณตอนบน เป็นงานไม้แกะสลัก ฝีมือชาวบ้านที่งดงามมากชิ้นหนึ่ง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔

วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์

ธรรมมาสสิงห์เทินบุษบก ณ วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ สร้างประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๘ แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐ โดย พระอุปัชฌาวงศ์ เจ้าอาวาสวัด และชาวญวณ ที่ชื่อว่า “เวียง’’ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แกวเวียง’’ เป็นงานศิลปกรรมที่เกิดจาการผสมผสานศิลปกรรมของไทยและญวณ ในรูปแบบจิตรกรรมนูนต่ำ เขียนสีด้วยลายต่างๆโดยมีงานไม้สลักเป็นบุษบก หรือปราสาท เทินบนตัวธรรมมาสน์ มีจิตรกรรมนูนต่ำและลวดลายต่างๆพร้อมด้วยงานจิตรกรรมฝ้าเพดานใช้เทคนิคการเขียนสีแบบพระราชวังแวร์ซายส์ คือการสร้างโครงไม้ขึ้นไปเขียนลวดลายต่างๆบนฝ้า นับว่าเป็นศิลปกรรมที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์และมีอยู่หลังเดียวในประเทศไทย

วัดอัมพวันนาราม

เรือติดโบราณ ณ วัดอัมพวันนาราม (เรือกระแซง) เรือโบราณวัดอัมพวันนาราม ค้นพบเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ บริเวณลำน้ำชี(หาดท่าหลวง)ตรงข้ามวัดอัมพวันนารามทำจากไม้ตะเคียน มีขนาดกว้าง ๓.๘๐ เมตร ประกอบด้วย -ไม้เปลือกเรือ ๑๕ แผ่น กระดูกงู ๒๔ ชิ้น ยาวจากหัวเรือถึงท้ายเรือ ๒๖.๔๐ เมตร อายุราว ๑๐๐-๑๕๐ ปี

หลวงพ่อโตและวิวทิวทัศน์ ณ ลำน้ำชี ท่าวัดอัมพวันนาราม โบสถ์ของวัดอัมพวันนาราม เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต พระคู่บ้านของชาวบ้านท่าศาลา ซึ่งเป็นพระที่มีขนาดใหญ่ อายุกว่า ๗๐ ปี และภาพเขียนสีพระเวสสันดรชาดกบนศาลากาเปรียญ แลในบริเวณวัดอัมพวันนาราม ยังวิวทิวทัศน์ ริมแม่น้ำชี ที่มีความสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมและสัมผัสกับอากาศที่เย็นสบาย

 

ขัวน้อยบ้านชีทวน

ขัวน้อยบ้านชีทวน เป็นขัวที่ใช้สัญจรไปมา ระหว่างหมู่ที่ ๑ บ้านชีทวน และหมู่ที่ ๗ บ้านหนองแคนสันนิษฐานว่า มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปีที่แล้ว

ขัวน้อยเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้านเนื่องจากในอดีต การสัญจรยากลำบาก ชาวบ้านจึงร่วมใจกันสร้างขัวน้อยขึ้นเพื่อความสะดวก โดยพื้นที่ที่สร้างเป็นเขตต่อกันระหว่างหนองใหญ่กับหนองผักบุ้งโดยสร้างตามแนวเขตติดต่อ คร่อมคันนาเดิม วัสดุที่ใช้สร้างส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง เพื่อใช้เป็นเสาและคาน ส่วนไม้แป้นปู(กระดานปู)ส่วนใหญ่มาจากเรือกระแซงเก่าที่พังไม่ได้ใช้ บ้างก็ได้จากการถากไม้ นำมารวมกันสร้างจนแล้วเสร็จ
ต่อมาเมื่อปี ๒๕๓๕ ได้จัดทำผ้าป่าสามัคคีขึ้น เพื่อซ่อมแซมบูรณะขัวน้อยทีมีสภาพทรุดโทรม ประกอบกับไม้ในการซ่อมแซมเริ่มหายากจึงได้สร้างขัวน้อยขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นสะพานคอนกรีต ยึดเอาแนวขัวเดิมเป็นหลัก และได้สร้างศาลกลางขัวเดิมเป็นหลัก และได้สร้างศาลากลางขัวเพิ่มเติม ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๕๙ มีกลุ่มชาวบ้านได้ก่อสร้างเพิ่มเติมจากจุดเดิม ยาวไปจนถึงวัดศรีธาตุเจริญสุขระยะ ๑๓๐ เมตร รวมทั้งหมดระยะทางยาว ๔๐๑.๕๐ เมตร

 

ช่วงที่น่าท่องเที่ยว คือช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน เพราะเป็นช่วงหน้าทำนาและช่วงข้าวออกรวง ทัศนีภาพจะสวยงามมาก

วัดทุ่งศรีวิไล

หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ณ วัดทุ่งศรีวิไล เป็นพุทธรูปสลักจากศิลาแลง ปางสมาธินาคปรกขนาดหน้าตักกว้าง ๕๕ ซ.ม.สูง ๙๐ ซ.ม.ยุคทวารวดีมีอายุมากกว่า ๑,๐๐๐ ปี หรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เป็นพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์มาก ภายในวิหารยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีก ๒ องค์ คือองค์ขวาคือพระร่วงโรจนฤทธิ์ และองค์ซ้ายคือ หลวงพ่อชัยสิทธิ์

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงสำเร็จราชการในมณฑลอีสาน ได้ประทับที่เมืองอุบล ได้ทรงขอหม่อมเจียงคำมาเป็นพระชายาแต่ก็ไม่มีพระโอรสหรือพระธิดา อยู่มาคราวหนึ่งกรมหลวงสรรพสิทธิสงค์เสด็จออกไปเยี่ยมไพร่ฟ้าประชาชน ณ เมืองชีช้วน (ชีทวน) เมื่อทราบว่ามีพระพุทธวิเศษ ที่สามารถจะบนบานศาลกล่าวหรือขอสิ่งพึงประสงค์ได้ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พร้อมกับหม่อมเจียงคำก็ทรงนำดอกไม้ธูปเทียนไปสักการบูชา บนบานศาลกล่าวขอพระโอรสและพระธิดาจากพระพุทธวิเศษต่อมาไม่นานหม่อมเจียงคำก็ได้ประสูตรพระโอรส ๒ องค์คือ หม่อมเจ้าอุปลีสานและหม่อมเจ้กมลสาน จนทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธวิเศษเลื่องลือไปไกลจนถึงปัจจุบัน

วัดศรีธาตุเจริญสุข

วัดศรีธาตุเจริญสุข เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง เดิมใช้ชื่อว่า “วัดศรีทาส’’ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัด“ศรีธาตุ’’ดังที่ปรากฏในปัจจุบันซึ่งภายในวัดมีพระพุทธรูปไม้แกะสลัก และพิพิธภัณฑ์โบราณอีสานมากมายที่ชาวบ้านนำมาจัดแสดง ให้ลูกหลานได้ศึกษาเครื่องมือเครื่องใชโบราณ

ประวัติพระพุทธศรีธาตุมงคลเนรมิต เป็นพระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ตะเคียนทอง (ไม้แคน)ซึ่งไม้ตะเคียนทอง ๓ ต้นอยู่กลางหนองแคนเป็นหนองปู่ตา (หรืออาฮักบ้าน) เมื่อ พ.ศ.๒๒๑๐ มีพระเกจิอาจารย์อุปัชฌาย์เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีธาตุเจริญสุข ได้นำชาวบ้านไปอัญเชิญ ต้นตะเคียนทอง ๓ ต้นอยู่กลางหนองน้ำเพื่อมาแกะสลักสร้างเป็นพระพุทธรูปไม้ ๓ องค์ และประดิษฐานไว้ในสิมหลังเก่า(โบสถ์) เพื่อสักการะบูชา วันหนึ่งได้เกิดสิ่งอัศจรรย์ หมอกควันไหลวนเวียนอยู่เศียรพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ทำให้เกจิอาจารย์ และชาวบ้านเห็นความอัศจรรย์ชวบ้านจึงเลื่อมใสศรัทธาตราบเท่าทุกวันนี้

สินค้า OTOP ของตำบลชีทวน

ตำบลชีทวน มีผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ระดับ ๕ ดาว คือ ผ้าลายปลาอีด เนื่องจากชาวบ้านชีทวน มีวิถีชีวิตเกี่ยวกับการหาปลาจึงนำการว่ายน้ำของปลามาประยุกต์เป็นลายผ้า

สามารถเลือกซื้อและแวะชมการทอผ้าได้ที่ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ของตำบลชีทวน ณ วัดพราตุสวนตาล และ ณ ศูนย์บริการการท่องเที่ยวตำบลชีทวน