‘บ้านหวางออก ต.คูเมือง’

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2439 โดยท่านเจ้าคุณอุบาลี คุณูปรมาจารย์สิริจันโท (จันทร์) เจ้าคณะมณฑลอิสาน เมื่อครั้งออกตรวจราชการตามท้องที่ต่างๆ ได้มาพบพื้นที่แห่งนี้ซึ่งมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งหมู่บ้าน

‘บ้านโนนสมบูรณ์ ต.ธาตุ’

หมู่บ้านที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ โดยแยกมาจากหมู่บ้านหนองโก หมู่ที่ 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 มีลักษณะเป็นเนินต้นไม้อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “โนนสมบูรณ์”

‘บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย’

เป็นหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางศาสนาและวัฒนธรรม โดยมีวัดบ้านบุ่งหวายและวัดป่านานาชาติ วัดป่าสายหลวงพ่อชา เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ OTOP

‘บ้านตามุย อ.โขงเจียม’ หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขง

‘โขงเจียม’ นับเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งริมแม่น้ำโขง นอกจากทัศนียภาพอันสวยงามสองฝั่งโขง เป็นจุดชมแสงแรกของพระอาทิตย์ยามเช้าที่ผาชะได และเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญทางประวัติศาสตร์กับภาพเขียนสีโบราณอายุกว่า 3,000-4,000 ปี

บ้านท่าล้ง ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม

นอกจากจะเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในประเทศไทย และแหล่งค้นพบสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพเขียนสีโบราณ และเสาเฉลียง

บ้านปากกะหลาง ต.สองคอน อ.โพธิ์ไทร

นักท่องเที่ยวนิยมมาลงเรือที่ ‘หาดสลึง’ ล่องแม่น้ำโขงไปชมผาวัดใจ, แก่งสองคอน และสามพันโบก ก่อนขึ้นฝั่งมาอิ่มอร่อยอาหารพื้นบ้าน เมนูปลาจากลุ่มน้ำโขง อาทิ ต้มส้มปลาโขงผักขะแยง, ป่นปลา, หมกหน่อไม้ใบสังข์

บ้านลาดเจริญ ต.นาแวง อ.เขมราฐ

บ้านลาดเจริญ ต.นาแวง อ.เขมราฐ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตรงข้ามแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว นักท่องเที่ยวจึงนิยมล่องเรือชมธรรมชาติ โดยเฉพาะ ‘หาดทรายสูง’ หาดทรายขาวที่ทับถมเป็นเนินสูงแปลกตา แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอ.เขมราฐ

ครูบุญมี ล้มวงศ์: บ้านปะอาว

ครูบุญมี ล้มวงศ์ สืบสานภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว ศิลปหัตถกรรมดั้งเดิมที่อยู่คู่ชาวอุบลราชธานีมากกว่า 200 ปี จวบจนปัจจุบัน

บ้านบัวเทิง

บ้านบัวเทิง เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจาก ตัวจังหวัดประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่ในเขตรอยต่ออำเภอวารินชำราบ สภาพพื้นที่อยู่ติดฝั่งลำน้ำมูลจึงมีแหล่งน้ำที่ดีเหมาะสมกับการทำการเกษตร

บ้านบุเปือย

บุระเบ๊ะ เป็นภาษาส่วย เป็นคนเผ่าๆหนึ่งในสมัยนั้น มีภาษาเป็นของตนเองแต่ไม่ปรากฏมีตัวหนังสือไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คนส่วยเดิมเป็นคนโกยหรือคนกวย